วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติวัดแก้วรังษี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

                        
              ผุฏฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปฏิ 
อโสกํ วิรชํ เขมํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
              ดวงจิตที่ไม่สะดุ้งสะเทือน ไม่หวั่นไหว ไม่ว่าสิ่งที่
เกิดขึ้นในโลกจะดีหรือร้าย
ไม่เศร้าโศก ไม่ขุ่นหมอง ปลอดโปร่ง อยู่เสมอ
เป็นมงคลอันสูงสุด


ศาลาการเปรียญ


อุโบสถหลังเก่า

ประตูทางเข้า

อุโบสถหลังใหม่กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้าง


ด้านหน้า

ศาลาสวดอภิธรรม



กุฏิเจ้าอาวาส

โรงครัว

กุฏิสามเณร

ที่อ่านหนังสือ



        วัดแก้วรังษี  หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า  วัดบ้านดอนใหญ่   ตั้งอยู่ที่หมู่ที่    ตำบลดอนใหญ่   อำเภอศรีเมืองใหม่  (สมัยก่อน .. ๒๕๐๐  เป็น อำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี   สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย    วัดแก้วรังษีตั้งเมื่อ .. ๒๔๒๗   ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ .. ๒๔๓๐  เขตวิสุงคามสีมากว้าง  ๒๐  เมตร  ยาว  ๔๐  เมตร  ที่ดินเฉพาะที่ตั้งวัดมีเนื้อที่  ๑๗  ไร่    งาน  ๒๐  วา  โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็น  โฉนด ทะเบียนเลขที่ ๒๕๕๖ เล่มที่  ๒๖ ข. หน้า ๖  เลขที่ดิน  ๕๔๒  กรรมสิทธิ์เป็นของวัด
                                                อาณาเขต
ทิศเหนือ          ยาว    เส้น    วา   จดลำห้วยตุงลุง
                        ทิศใต้              ยาว    เส้น  ๑๗  วา    ศอก  จดถนนสาธารณะ
                        ทิศตะวันออก  ยาว    เส้น  ๑๐  วา   จดถนนสาธารณะ
                        ทิศตะวันตก     ยาว    เส้น   วา    ศอก  จดถนนสาธารณะ

ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดแก้วรังษีและบริเวณโดยรอบ

        พื้นที่ตั้งวัดแก้วรังษีเป็นที่ดอนลาดเอียงลงไปทางลำห้วยตุงลุง  ทิศเหนือของวัดติดกับลำห้วยตุงลุง  ทิศใต้เป็นหมู่บ้านดอนใหญ่ หมู่ที่ และหมู่ที่   ซึ่งอยู่ถัดลงไป   ทิศตะวันออกเป็นป่าละเมาะมีสระน้ำของโครงการเงินผัน  ซึ่งอยู่ในที่ดินของโรงเรียนชุมชนบ้านดอนใหญ่ บูระพา  ทิศตะวันตกเป็นหมู่บ้านดอนใหญ่  หมู่ที่   

อาคารเสนาสนะต่าง ภายในวัด

        อุโบสถกว้าง    เมตร  ยาว  ๑๕  เมตร  สร้างเมื่อ .. ๒๔๘๐  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน  หลังคาไม้ทรงไทย  เดิมมุงด้วยไม้  เปลี่ยนเป็นสังกะสีชุบสีเมื่อ .. ๒๕๑๕  ช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้ตะเคียนประดับแก้วเล็กน้อย  หน้าจั่วสลักลายปูนปั้นเทพพนม และกนกต่าง   ด้านหลังแบ่งเป็นสองส่วน คือ 
        ส่วนที่    สลักลายปูนปั้นรูปช้างสามเศียรของพระอินทร์  ล้อมรอบด้วยลายกนก
        ส่วนที่    สลักลายปูนปั้นรูปนกการะเวกปากคาบสาร  ล้อมรอบด้วยลายกนก
ซุ้มประตูลายปูนปั้นรูปราหูอมจันทร์  กรอบประตูไม้ตะเคียนแกะสลัก  บานประตูไม้ตะเคียนแกะสลักลายเถา  ซุ้มหน้าต่างปูนปั้นรูปเทพพนม
        ภายในอุโบสถทั้งส่วนข้างนอก และด้านใน    มีจิตกรรมฝาผนังเรื่องปฐมสมโภช   เขียนโดยองค์นา  (ปัจจุบันชำรุด)
                    )  ศาลาการเปรียญ กว้าง  ๑๓  เมตร  ยาว  ๒๘  เมตร  สร้างเมื่อ .. ๒๕๑๗  เป็นอาคารยกพื้น  เสาคอนกรีตต่อไม้เนื้อแข็ง  คานไม้เนื้อแข็ง  ตงไม้พวง (ไม้กุง)  กระดานพื้นเป็นไม้เนื้อแข็ง  ลักษณะเป็นอาคารโปร่งใส่ลูกกรงด้านหน้า   ด้านหลังมีฝาผนังกั้นด้วยไม้ตะเคียน  หลังคาไม้ทรงไทย  มุงด้วยสังกะสี  ช่อฟ้าใบระกาทำด้วยปูน  หน้าจั่วด้านหน้าลายปูนปั้นสลักรูปพระพุทธเจ้าปรางค์ตรัสรู้  หน้าจั่วด้านหลังสลักลายปูนปั้นรูปพระอินทร์ทรงช้างสามเศียร  ประกอบลายกนก
        )  กุฎีสงฆ์จำนวน    หลัง  ดังนี้
                ๓.๑  เป็นอาคารยกพื้นทำด้วยเสาคอนกรีตต่อไม้  หลังคาทรงปั้นหยา  มุงด้วยสังกะสี  อยู่ทางทิศตะวันออกของอุโบสถ  กว้าง  ๙  เมตร  ยาว  ๑๕  เมตร  สร้าง .. ๒๕๐๖ (ปัจจุบันชำรุดใช้การไม่ได้)
                ๓.๒  เป็นอาคารยกพื้นทำด้วยเสาคอนกรีตต่อไม้  หลังคาทรงปั้นหยา  มุงด้วยสังกะสีอยู่ด้านทิศเหนือของอุโบสถ สร้างเมื่อ .. ๒๕๔๑  
                ๓.๓  เป็นอาคารปูนสองชั้น   โครงหลังคาเหล็กทรงปั้นหยา  มุงด้วยกระเบื้อง    สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๓๕
        ๔)  ศาลาปฏิบัติธรรม  กว้าง  ๘  เมตร  ยาว  ๑๖  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๙
            ๕)  เมรุ  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๐
            ๖)  ศาลาบำเพ็ญกุศล (ศาลาคู่เมรุ)  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๗
            ๗)  ห้องน้ำ  จำนวน  ๗  ชุด
            ) ศาลาคู่เมรุ
            ๙)  หอถังส่งน้ำประปา 2 ถัง  (เป็นของหมู่บ้านขอใช้สถานที่)
                ๑๐)  อุโบสถหลังใหม่   ให้สงฆ์แสดงที่ให้โดยมีพระครูมงคลชยานุรักษ์เจ้าคณะอำเภอศรีเมืองใหม่เป็นประธาน  เมื่อวันที่  ๑๓  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘  ยกเสาเอก โดยมีพระครูมงคลชยานุรักษ์เจ้าคณะอำเภอศรีเมืองใหม่เป็นประธาน  เมื่อวันที่  ๑๗  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
            ๑๑)  บ่อน้ำสาธารณะ  (ขณะนี้เลิกใช้แล้ว)
        ๑๒)  หอระฆัง    ชั้น  สร้างด้วยไม้  มุงด้วยสังกะสี
การศึกษาได้มีการเปิดสอน
        โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม  เปิดสอน .. ๒๔๙๐
        แหล่งความรู้หมู่บ้านตั้งเมื่อ .. ๒๕๓๔
        ๓.  ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เปิดสอนเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๔๘
ผู้ปกครองวัด
        พระอธิการวิเชียร  วิชฺชาธโร
                ตำแหน่ง      เจ้าอาวาสวัดแก้วรังษี
                            
จำนวนพระภิกษุ สามเณร
        . พระภิกษุ      ๔    รูป  สามเณร ๖ รูป
รายชื่อเจ้าอาวาสวัดแก้วรังษี

                 . พระกัณหา                    .. ๒๔๒๗ - ๒๔๕๐
             . พระเป้ย                       .. ๒๔๕๐ - ๒๔๕๔
             . พระหมา                      .. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๗
             . พระเขียน                     .. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑
             . พระสิงห์                      .. ๒๔๖๑ - ๒๔๖๔
             . พระกึ่ม                        .. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๙
             . พระจันทร์                     .. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๗
             . พระเก่ง   อภิวฒฺฑโน       .. ๒๔๗๗ - ๒๔๙๐
             . พระสมุห์บัวพันธ์  ขนฺติโก    .. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๓
             ๑๐. พระหนู  เขมโก             .. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๕
             ๑๑. พระทัน  ชุตินฺธโร           .. ๒๔๙๕ - ๒๔๙๖
             ๑๒. พระคำมี  สีลสํวโร         .. ๒๔๙๖ ๒๕๐๐
             ๑๓. เจ้าอธิการบุญสวย  สุวโจ  .. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๕
             ๑๔. พระโทน  อติภทฺโท         .. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๖
             ๑๕. พระครูรัตนรังษีพิทักษ์      .. ๒๕๑๖ ๒๕๕๕
                    ๑๖.พระครูรังษีรัตนาธร            พ.ศ. ๒๕๕๕ - ปัจจุบัน

ประวัติบ้านดอนใหญ่
          บ้านดอนใหญ่  ตั้งอยู่ริมฝั่งลำห้วยตุงลุง  เป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์  ภูมิประเทศเป็นที่ดอน  มีพื้นที่กว้างขวาง  มีเนื้อที่  ,๓๗๔  ไร่  แบ่งเป็น    หมู่บ้าน  คือ
          ๑)  บ้านดอนใหญ่หมู่ที่    (ดอนใหญ่ใต้)  มีประชากร  ๑๔๔  ครอบครัว   ๖๙๘  คน  มีเนื้อที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน  ,๘๒๖  ไร่
          ๒)  บ้านดอนใหญ่หมู่ที่  (ดอนใหญ่เหนือ)  มีประชากร  ๑๒๖  ครอบครัว  ๖๑๔  คน  มีเนื้อที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน  ,๓๖๘  ไร่ 
          ๓)  บ้านดอนใหญ่หมู่ที่    (ดอนใหญ่บูระพา)  มีประชากร  ๑๓๘  ครอบครัว  ๕๗๖  คน  มีเนื้อที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน  ,๑๘๐  ไร่
          บ้านดอนใหญ่มีวัด    วัด คือ  วัดแก้วรังษี  ตั้งอยู่หมู่ที่    และวัดอรุณวนาราม  ตั้งอยู่หมู่ที่    มีโรงเรียน    แห่ง คือ โรงเรียนชุมชนบ้านดอนใหญ่ บูระพา  มีอนามัย    แห่ง  มีศูนย์สภาตำบล    แห่ง ตู้ยามตำรวจ    แห่ง  หมวดการทาง    แห่ง   ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์    แห่ง  ศูนย์ฝึกอาชีพ    แห่ง  ที่อ่านหนังสือพิมพ์    แห่ง  บ่อน้ำบาดาลสาธารณะ    แห่ง  บ่อน้ำตื้น  ๑๒  แห่ง  ศาลาประชาคม  ๒  แห่ง  ศูนย์ฝึกอาชีพ  ๑  แห่ง  กองทุนร้านค้า  ๑  แห่ง 
          อาชีพของประชากรส่วนใหญ่  ทำนา  มีการค้าขายและรับราชการเล็กน้อย  อาชีพเสริมปลูกพืชผักสวนครัว  เลี้ยงสัตว์  เลี้ยงไหม  ทอผ้า  เย็บผ้า  ตลอดรับจ้างทั่วไป
         
          พื้นเพประชากรของบ้านดอนใหญ่ใต้  คนบ้านดอนใหญ่ใต้ เป็นพวกย้ายมาจากบ้าน พระเนาว์ บ้านร่องหัวคน และบ้านเลิกแฝก ซึ่งมาอยู่รวมกันตั้งบ้านเรือนราวปี .. ๒๔๐๗ บ้านทั้งสามนี้ตั้งอยู่ตามลำห้วยพระเนาว์ อยู่ทางทิศใต้ ของบ้านดอนใหญ่ใต้ในปัจจุบัน  ในหมู่บ้านเดิมดังกล่าวอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย มีสถานที่คับแคบ  ได้เกิดอหิวาต์ระบาดขึ้น มีคนเจ็บป่วยล้มตายกันเป็นจำนวนมาก จึงได้พากันหลบหนีโรคระบาด ได้มาเห็นบริเวณดงใหญ่ เป็นที่กว้างขวาง เหมาะที่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ได้ จึงได้ชักชวนกันย้ายบ้านมาตั้งในพื้นที่ ที่เป็นหมู่บ้านดอนใหญ่ใต้ในปัจจุบัน
          บ้านดอนใหญ่ใต้  ตั้งในปี .. ๒๔๒๔  ปีประชากรครั้งแรก ๒๐ ครอบครัว ๖๗ คน ฝ่ายบ้านโดยการนำของกำนัน เพ็ง ฐิตะสาร (เพียพรมศาล) ฝ่ายวัดโดยการนำของ หลวงพ่อกัณหา ฐิตะสาร ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ เมื่อปี .. ๒๔๒๗

         

          บ้านดอนใหญ่ใต้ มีผู้ปกครองสืบต่อกันมา ดังนี้
                . เพียพรมศาล (กำนันเพ็ง ฐิตะสาร)                 ๒๔๒๗ ๒๔๖๕
                . นายพรมศร สรคุณ                                ๒๔๖๕ ๒๔๗๑
                . นายคำหล้า ธรรมคำ                               ๒๔๗๑ ๒๔๗๖
                . นายหา แก้วมุกดา                                 ๒๔๗๖ ๒๔๘๖
                . นายทอง วามะเกตุ                                ๒๔๘๖ ๒๕๑๑
                . นายอนันต์ คีรีเขียว                                ๒๕๑๑ ๒๕๒๙
                . นายสายสมร บุระมาศ                             ๒๕๒๙ ๒๕๔๔
                . นายวีระพล สำรีวงศ์                              ๒๕๔๔ - ๒๕๔๗
                ๙.  นายสมหมาย  ธรรมคำ                                           ๒๕๔๗  -  ปัจจุบัน
          พื้นเพประชากรของบ้านดอนใหญ่เหนือ  คนบ้านดอนใหญ่เหนือ เป็นพวกย้ายมาจากบ้านทุ่งมน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของบ้านดอนใหญ่เหนือในปัจจุบัน  บ้านดอนใหญ่เหนือ ตั้งเมื่อปี .. ๒๔๒๗ มีประชากรครั้งแรก ๑๗ ครอบครัว ๖๒ คน โดยการนำของผู้ใหญ่บ้านบา โขมะพันธ์ ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ เมื่อปี .. ๒๔๓๙
          บ้านดอนใหญ่เหนือ มีผู้ปกครองสืบต่อกันมา ดังนี้
                ๑. นายบา โขมะพันธ์                                 ๒๔๓๗ ๒๔๗๕
                . นายอ่อนสา พุฒิผา                                ๒๔๗๕ ๒๔๗๙
                . นายหนูนาย สวัสดิ์พงษ์                           ๒๔๗๙ ๒๔๘๔
                . นายหอม ชอบเสียง                                ๒๔๘๔ ๒๕๐๐
                . นายเสือ พรมดาว                                  ๒๕๐๐ ๒๕๒๑
                . นายบุญ ดูลา                                       ๒๕๒๑ ๒๕๒๙
                . นายหนูการ ขาวเลิศ                               ๒๕๒๙ ๒๕๔๖
                . นายพงษ์ คีรีเขียว                                  ๒๕๔๖ ๒๕๕๑
                        ๙. นายสุพล  ธรรมมา                                                  ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน

          พื้นเพประชากรของบ้านดอนใหญ่บูรพา  คนบ้านดอนใหญ่บูรพา เป็นพวกย้ายมาจาก บ้านนามึน อำเภอเมืองอุบลราชธานี  บ้านดอนใหญ่บูรพา ตั้งเมื่อปี .. ๒๔๙๔ มีประชากรครั้งแรก ๑๖ ครอบครัว ๖๔ คน โดยการนำของผู้ใหญ่โคตรศรีเมือง บุระมาศ  ได้รับแต่งตั้งทางราชการ เมื่อปี .. ๒๔๕๓
         
          บ้านดอนใหญ่บูรพา มีผู้ปกครองสืบต่อกันมา ดังนี้
                . นายโคตรศรีเมือง บุระมาศ                        ๒๔๕๓ ๒๔๖๓
                . นายมั่น มูลราช                                    ๒๔๖๓ ๒๔๗๗
                . นายหมูน อ่อนแก้ว                                ๒๔๗๗ ๒๔๘๔
                . นายดี มั่นวงศ์                                     ๒๔๘๔ ๒๔๙๓
                . นายเขียน พันธ์โพธิ์                               ๒๔๙๓ ๒๔๙๖
                . นายสิงห์ เบิกบาน                                 ๒๔๙๖ ๒๕๐๐
                . นายคำ น้อยแก้ว                                  ๒๕๐๐ ๒๕๑๖
                . นายชาย เบิกบาน                                  ๒๕๑๖ ๒๕๔๔
                . นายประเสริฐ พุ่มจันทร์                           ๒๕๔๔ -  ปัจจุบัน

          เมื่อปี .. ๒๔๕๐ มณฑลอีสานแบ่งการปกครองออกเป็น บริเวณ
                .บริเวณเมืองอุบลราชธานี มี เมือง
                        เมืองอุบลราชธานี มี ๑๑ อำเภอ
                        เมืองยโสธร มี อำเภอ
                        เมืองเขมราฐ มี อำเภอ
          . เมืองอุบลราชธานี มี ๑๑ อำเภอ ดังนี้
                ๑.๑   อำเภอปุพพูปลนิคม             (บ้านท่าศาลา, เมือง)
                ๑.๒ อำเภอทักษิณูปลนิคม            (คำน้ำแซบ, หาดสวนยา)
                ๑.๓ อำเภอปจิมูปลนิคม               (เขื่องใน, เขื่องนอก)
                ๑.๔ อำเภออุตรูปลนิคม               (เกษมสีมา, ม่วง)
                ๑.๕ อำเภอพิบูลมังสาหาร             (บ้านชะโด, พิบูลฯ)
                ๑.๖ อำเภอตระการพืชผล             (บ้านสะพือ, ขุหลุ)
                ๑.๗ อำเภอมหาชนะชัย               (บ้านเวิงชัย, ฟ้าหยาด)
                ๑.๘ อำเภอเกษมสีมา                  (รวมเป็นอำเภอตระการฯ)
                ๑.๙ อำเภอพนานิคม                   (บ้านพระเหลา)
                ๑.๑๐ อำเภอเสนางคนิคม             (บ้านส่องนาง)
        ๑.๑๑ อำเภอชานุมารมณฑล          (บ้านท่ายักคุ)
          . เมืองยโสธร มี ๒ อำเภอ
        ๒.๑ อำเภอปจิมูยโสธร                (บ้านสิงห์ท่า, เมือง)
        ๒.๒ อำเภออุทัยยโสธร                (บ้านลุมพุก, คำเขื่อนแก้ว)
          . เมืองเขมราฐ มี ๕ อำเภอ
                ๓.๑ อำเภออุทัยเขมราฐ                       
                ๓.๒ อำเภอปจิมเขมราฐ               ( อำเภอ รวมเป็นอำเภอเขมราฐ)
                ๓.๓ อำเภออำเภออำนาจเจริญ         (บ้านอำนาจ, บุ่ง)
                ๓.๔ อำเภอโขงเจียม                  (บ้านด่าน)
                ๓.๕ อำเภอวารินซำราบ               (บ้านนากอนจอ, ศรีเมืองใหม่)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น