วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ขอเชิญร่วมตักบาตรเทโว 2554
วันเทโวโรหณะ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี |
วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ใน ดาวดึงส์ พิภพถ้วนไตรมาสและการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา 3 เดือน พออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “ วันเทโวโรหณะ “ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า”วันพระเจ้าเปิดโลก” รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลก ของพระพุทธเจ้า โดยพุทธบริษัท ได้พร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่ทั้งหมด ในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วย โดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน ภัตตาหารที่ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ปรากฏได้มีการใส่บาตรรในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์ จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆบ้าง แล้วโยนเข้าถวายพระนี่เอง จึงเป็นเหตุหนึ่ง ที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน เป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีว่า ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทุกๆปี ควรทำบุญตักบาตรให้เหมือนครั้ง ดั้งเดิมเรียกว่า”ตักบาตรเทโวโรหณะ” จนทุกวันนี้ |
วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง ๓ โลกนั้นเอง การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว
ระเบียบพิธีและการปฏิบัติตน
ปัจจุบัน พิธีทำบุญในนิยมทำโดยจำลองเหตุการณ์วันเทโวโรหณะ กล่าวคือ จะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปปางประทับยืน 1 องค์ นำหน้าแถวพระสงฆ์ ส่วนประชาชนที่มาใส่บาตรจะยืน หรือนั่ง 2 แถว หันหน้าเข้าหากันโดยเว้นระหว่างกลางไว้ให้พระสงฆ์เดิน ส่วนของที่นำมาใส่บาตรอาจแตกต่างกัน โดยในเมืองมักนิยมใส่อาหารแห้ง ส่วนชนบทมักจะใส่อาหารสด เพื่อมิให้เกิดปัญหาจึงขอแนะนำดังนี้
1. อาหารที่นำมาถวายใส่ควรใส่ภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกแยกชนิดไม่ให้ปะปนกัน เช่นข้าวสุก และข้าวสาร หากไม่แยกกันจะทำให้เสียหายได้หรืออาจจะจัดระบบการใส่แยกข้าวสุกและข้าวสาร ให้ชัดเจนมิให้ปะปนกัน
2. อาหารประเภทน้ำ หากจะนำมาใส่บาตรต้องใส่ภาชนะที่ไม่หกเลอะเทอะ อาหารชนิดอื่นๆได้
3. การใส่บาตรควรประมาณการบริโภคใช้สอยด้วย หากอาหารสดมากเกินไปและเหลือจากพระฉันแล้ว นำไปแจกจ่ายไม่ได้ ก็ควรเปลี่ยนเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นานก็ได้
นอกจากนี้ บางแห่งยังมีกิจกรรมพิเศษอื่นๆ นอกจากการใส่บาตรทำบุญ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น
วันเทโวโรหณะหรือวันตักบาตรเทโว ข้าราชการไม่ได้กำหนดวันหยุดราชการเหมือนวันเข้าพรรษาวันวิสาขบูชาหรือวัน อื่นๆ เพราะส่วนใหญ่จะมีพิธีช่วงเช้าถึงบ่ายเท่านั้น
การดำเนินงาน
สำหรับการตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมทั่วไปในปัจจุบัน จัดทำขึ้นในวัดเป็นหน้าที่ของทางวัดนั้นๆ และทายกทายิการ่วนกันจัด มีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นการกำหนดวันทำบุญตักบาตร ทางวัดที่จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะนั้นจะต้องเตรียมตัว คือ
ก. รถทรงพระพุทธรูป หรือคานหามพระพุทธรูป เพื่อชักหรือหามนำหน้าพระสงฆ์ในการรับบาตรมีที่ตั้งตรงกลางประทับรถ หรือหามด้วยราชวัตร ฉัตร ธง โดยรอบ พอสมควรมีที่ตักบาตร มีที่ตั้งพระพุทธรูปด้วย ส่วนตัวรถ หรือคานหามจะประดับประดาให้พิจิตรพิศดารอย่างไรแล้วแต่ศรัทธาและกำลังที่จะ พึงจัดได้ และมีผู้ถือบาตรตามสำหรับบิณฑบาตร
ข. พระพุทธรูปยืน 1 องค์จะเป็นขนาดเล็กหรือว่าใหญ่ก็ได้แล้วแต่จะมีหรือจัดหามาได้สำหรับเชิญ ขึ้นประดิษฐานบนรถหรือคานหาม แล้วชักหรือนำขบวนรับบาตรเทโซโรหณะแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าได้พระปางอุ้มบาตรซึ่งเหมาะกับเหตุการณ์ดีที่สุดแต่ถ้าไม่มีพระปางอุ้ม บาตร จะใช้พระปางห้ามญาติปางห้ามสมุทร ปางรำพึง ปางถวายเนตรหรือปางลีลา ปางใดปางหนึ่งก็ได้ ขอแต่เป็นพระพุทธรูปยืนเท่านั้น
ค. เตรียมสถานที่ให้ทายกทายิกาตั้งเครื่องใส่บาตรโดยจะจัดลานวัดหรือบริเวณรอบๆ โรงอุโบสถเป็นที่กลางแจ้ง แห่งหนึ่งก็ได้ให้ตั้งเป็นแถวเป็นแนวเรียงรายติดต่อกันเป็นลำดับๆ ถ้าทายกทายิกาไม่มากนัก จัดแถวเดียวให้นั่งอยู่ด้านเดียวทั้งหมดแต่ถ้ามากจะจัดเป็น 2 แถว ให้นั่งหันหน้าเข้าหากัน เว้นช่องกลางระหว่างแถวทั้ง 2 ไว้สำหรับพระเดินบิณฑบาตพอสมควรก็ได้
ง. แจ้งกำหนดการให้ทายกทายิกาทราบล่วงหน้าก่อนว่า จะกำหนดให้ธรรมบุญตักบาตรพร้อมกันเวลาเท่าไรบางแห่งจัดให้พระธรรมเทศนา อนุโมทนาทาน หลังจากพระรับบาตรและฉันเสร็จแล้ว 1 กัณฑ์ ด้วยโดยทางวัดจัดเพิ่มขึ้นเอง และบางแห่งทายกทายิกามีศรัทธาแรงกล้าขอให้ทางวัดจัดให้มีเทศน์ปุจฉาวิสัชชนา ตอนบ่ายอีก 1 กัณฑ์ก็มี ถ้าจะมีเทศน์อย่างไรต่อจากทำบุญตักบาตรรนี้ ก็ต้องแจ้งกำหนดการให้ทราบทั่วกันการเทศน์อนุโมทนาทานกัณฑ์เช้าเป็นหน้าที่ ของเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ หรือจะมอบให้ภิษุผู้สามารถรูปใดเทศน์แทนก็ได้แต่การเทศน์ปุจฉาวิสัชชนา ถ้ามีในตอนบ่ายเป็นเรื่องที่ทายกทายิกาจะขวนขวายกันเอง แต่ทางวัดก็ต้องอำนวยความสะดวก และจัดการให้ตามศรัทธาของทายกทายิกาด้วยจะถือว่าไม่ใช่ธุระของวัดย่อมไม่ควร
2. สำหรับทายกทายิกาผู้ศรัทธาจะทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เมื่อทราบกำหนดจากทางวัดแล้วจะต้องเตรียมและดำเนินการดังนี้
ก. เตรียมภัตตาหารสำหรับใส่บาตรตามศรัทธา ของใส่บาตรรนอกจากข้าว เครื่องคาวหวานจัดเป็นห่อเป็นที่สำหรับใส่รูปหนึ่งๆ หรืออาจจะเป็นอาหารแห้งตามธรรมเนียมแล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นประเพณีจะขาดเสียมิได้ในงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ นี้ คือ ข้าวต้มลูกโยน เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานนี้โดยเฉพาะจากเรื่องราวที่เล่ามาแล้วใน ตอนต้น ฉะนั้น งานนี้จะเรียกว่าเป็นงานทำบุญตักบาตรข้าวต้มลูกโยน ก็เห็นจะไม่ผิด จึงจำเป็นต้องเตรียมของสิ่งนี้ไว้ใส่บาตรด้วย
ข. ถึงกำหนดนัดในวันนั้นก็นำเครื่องใส่บาตรทั้งหมดไปตั้งใส่ที่วัดจัดเตรียมไว้ รอจนขบวนพระมาถึงตรงหน้าตนจึงใส่บาตร ให้ใส่ตั้งแต่พระพุทธรูปในรถหรือคานหามที่นำหน้าพระสงฆ์ไปเป็นลำดับจนหมดพระ สงฆ์รับ หรือหมดของที่เตรียมมา
ค. เมื่อใส่บาตรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี แต่ถ้าจัดให้มีเทศน์ด้วยและศรัทธาจะแสวงบุญ จากการฟังธรรมต่อ จะรออยู่ที่วัดจนถึงเวลาเทศน์ หรือจะกลับบ้านก่อนซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลวัดนัก แล้วมาฟังเทศน์เมื่อถึงเวลาเทศน์ก็ได้ตามแต่อัธยาศัย
3. สำหรับภิษุสามเณรผู้เข้ารับบาตรในพิธีทำบุญเทโวโรหณะนี้ ถ้างานจัดขึ้นในบริเวณวัดพึง ครองผ้า แบบลดไหล่อุ้มบาตรทุกรูปตามธรรมเนียมของวัดแต่ถ้าเป็นงานจัดขึ้นนอกบริเวณ วัดพึงครองผ้าตามนิยมแบบออกบิณฑบาตรนอกวัด ให้ชักแถวเดิน มีรถทรงหรือคานพระพุทธรูปนำหน้าแถว รับไปตามลำดับผู้ใส่ที่ถึงตรงหน้าตน พึงปฏิบัติตามระเบียบพิธีมีธรรมเทศนา
ปัจจุบัน พิธีทำบุญในนิยมทำโดยจำลองเหตุการณ์วันเทโวโรหณะ กล่าวคือ จะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปปางประทับยืน 1 องค์ นำหน้าแถวพระสงฆ์ ส่วนประชาชนที่มาใส่บาตรจะยืน หรือนั่ง 2 แถว หันหน้าเข้าหากันโดยเว้นระหว่างกลางไว้ให้พระสงฆ์เดิน ส่วนของที่นำมาใส่บาตรอาจแตกต่างกัน โดยในเมืองมักนิยมใส่อาหารแห้ง ส่วนชนบทมักจะใส่อาหารสด เพื่อมิให้เกิดปัญหาจึงขอแนะนำดังนี้
1. อาหารที่นำมาถวายใส่ควรใส่ภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกแยกชนิดไม่ให้ปะปนกัน เช่นข้าวสุก และข้าวสาร หากไม่แยกกันจะทำให้เสียหายได้หรืออาจจะจัดระบบการใส่แยกข้าวสุกและข้าวสาร ให้ชัดเจนมิให้ปะปนกัน
2. อาหารประเภทน้ำ หากจะนำมาใส่บาตรต้องใส่ภาชนะที่ไม่หกเลอะเทอะ อาหารชนิดอื่นๆได้
3. การใส่บาตรควรประมาณการบริโภคใช้สอยด้วย หากอาหารสดมากเกินไปและเหลือจากพระฉันแล้ว นำไปแจกจ่ายไม่ได้ ก็ควรเปลี่ยนเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นานก็ได้
นอกจากนี้ บางแห่งยังมีกิจกรรมพิเศษอื่นๆ นอกจากการใส่บาตรทำบุญ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น
วันเทโวโรหณะหรือวันตักบาตรเทโว ข้าราชการไม่ได้กำหนดวันหยุดราชการเหมือนวันเข้าพรรษาวันวิสาขบูชาหรือวัน อื่นๆ เพราะส่วนใหญ่จะมีพิธีช่วงเช้าถึงบ่ายเท่านั้น
การดำเนินงาน
สำหรับการตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมทั่วไปในปัจจุบัน จัดทำขึ้นในวัดเป็นหน้าที่ของทางวัดนั้นๆ และทายกทายิการ่วนกันจัด มีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นการกำหนดวันทำบุญตักบาตร ทางวัดที่จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะนั้นจะต้องเตรียมตัว คือ
ก. รถทรงพระพุทธรูป หรือคานหามพระพุทธรูป เพื่อชักหรือหามนำหน้าพระสงฆ์ในการรับบาตรมีที่ตั้งตรงกลางประทับรถ หรือหามด้วยราชวัตร ฉัตร ธง โดยรอบ พอสมควรมีที่ตักบาตร มีที่ตั้งพระพุทธรูปด้วย ส่วนตัวรถ หรือคานหามจะประดับประดาให้พิจิตรพิศดารอย่างไรแล้วแต่ศรัทธาและกำลังที่จะ พึงจัดได้ และมีผู้ถือบาตรตามสำหรับบิณฑบาตร
ข. พระพุทธรูปยืน 1 องค์จะเป็นขนาดเล็กหรือว่าใหญ่ก็ได้แล้วแต่จะมีหรือจัดหามาได้สำหรับเชิญ ขึ้นประดิษฐานบนรถหรือคานหาม แล้วชักหรือนำขบวนรับบาตรเทโซโรหณะแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าได้พระปางอุ้มบาตรซึ่งเหมาะกับเหตุการณ์ดีที่สุดแต่ถ้าไม่มีพระปางอุ้ม บาตร จะใช้พระปางห้ามญาติปางห้ามสมุทร ปางรำพึง ปางถวายเนตรหรือปางลีลา ปางใดปางหนึ่งก็ได้ ขอแต่เป็นพระพุทธรูปยืนเท่านั้น
ค. เตรียมสถานที่ให้ทายกทายิกาตั้งเครื่องใส่บาตรโดยจะจัดลานวัดหรือบริเวณรอบๆ โรงอุโบสถเป็นที่กลางแจ้ง แห่งหนึ่งก็ได้ให้ตั้งเป็นแถวเป็นแนวเรียงรายติดต่อกันเป็นลำดับๆ ถ้าทายกทายิกาไม่มากนัก จัดแถวเดียวให้นั่งอยู่ด้านเดียวทั้งหมดแต่ถ้ามากจะจัดเป็น 2 แถว ให้นั่งหันหน้าเข้าหากัน เว้นช่องกลางระหว่างแถวทั้ง 2 ไว้สำหรับพระเดินบิณฑบาตพอสมควรก็ได้
ง. แจ้งกำหนดการให้ทายกทายิกาทราบล่วงหน้าก่อนว่า จะกำหนดให้ธรรมบุญตักบาตรพร้อมกันเวลาเท่าไรบางแห่งจัดให้พระธรรมเทศนา อนุโมทนาทาน หลังจากพระรับบาตรและฉันเสร็จแล้ว 1 กัณฑ์ ด้วยโดยทางวัดจัดเพิ่มขึ้นเอง และบางแห่งทายกทายิกามีศรัทธาแรงกล้าขอให้ทางวัดจัดให้มีเทศน์ปุจฉาวิสัชชนา ตอนบ่ายอีก 1 กัณฑ์ก็มี ถ้าจะมีเทศน์อย่างไรต่อจากทำบุญตักบาตรรนี้ ก็ต้องแจ้งกำหนดการให้ทราบทั่วกันการเทศน์อนุโมทนาทานกัณฑ์เช้าเป็นหน้าที่ ของเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ หรือจะมอบให้ภิษุผู้สามารถรูปใดเทศน์แทนก็ได้แต่การเทศน์ปุจฉาวิสัชชนา ถ้ามีในตอนบ่ายเป็นเรื่องที่ทายกทายิกาจะขวนขวายกันเอง แต่ทางวัดก็ต้องอำนวยความสะดวก และจัดการให้ตามศรัทธาของทายกทายิกาด้วยจะถือว่าไม่ใช่ธุระของวัดย่อมไม่ควร
2. สำหรับทายกทายิกาผู้ศรัทธาจะทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เมื่อทราบกำหนดจากทางวัดแล้วจะต้องเตรียมและดำเนินการดังนี้
ก. เตรียมภัตตาหารสำหรับใส่บาตรตามศรัทธา ของใส่บาตรรนอกจากข้าว เครื่องคาวหวานจัดเป็นห่อเป็นที่สำหรับใส่รูปหนึ่งๆ หรืออาจจะเป็นอาหารแห้งตามธรรมเนียมแล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นประเพณีจะขาดเสียมิได้ในงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ นี้ คือ ข้าวต้มลูกโยน เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานนี้โดยเฉพาะจากเรื่องราวที่เล่ามาแล้วใน ตอนต้น ฉะนั้น งานนี้จะเรียกว่าเป็นงานทำบุญตักบาตรข้าวต้มลูกโยน ก็เห็นจะไม่ผิด จึงจำเป็นต้องเตรียมของสิ่งนี้ไว้ใส่บาตรด้วย
ข. ถึงกำหนดนัดในวันนั้นก็นำเครื่องใส่บาตรทั้งหมดไปตั้งใส่ที่วัดจัดเตรียมไว้ รอจนขบวนพระมาถึงตรงหน้าตนจึงใส่บาตร ให้ใส่ตั้งแต่พระพุทธรูปในรถหรือคานหามที่นำหน้าพระสงฆ์ไปเป็นลำดับจนหมดพระ สงฆ์รับ หรือหมดของที่เตรียมมา
ค. เมื่อใส่บาตรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี แต่ถ้าจัดให้มีเทศน์ด้วยและศรัทธาจะแสวงบุญ จากการฟังธรรมต่อ จะรออยู่ที่วัดจนถึงเวลาเทศน์ หรือจะกลับบ้านก่อนซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลวัดนัก แล้วมาฟังเทศน์เมื่อถึงเวลาเทศน์ก็ได้ตามแต่อัธยาศัย
3. สำหรับภิษุสามเณรผู้เข้ารับบาตรในพิธีทำบุญเทโวโรหณะนี้ ถ้างานจัดขึ้นในบริเวณวัดพึง ครองผ้า แบบลดไหล่อุ้มบาตรทุกรูปตามธรรมเนียมของวัดแต่ถ้าเป็นงานจัดขึ้นนอกบริเวณ วัดพึงครองผ้าตามนิยมแบบออกบิณฑบาตรนอกวัด ให้ชักแถวเดิน มีรถทรงหรือคานพระพุทธรูปนำหน้าแถว รับไปตามลำดับผู้ใส่ที่ถึงตรงหน้าตน พึงปฏิบัติตามระเบียบพิธีมีธรรมเทศนา
วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
ต้นโพธิ์ทอง ต้นไม้ที่มีความสำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา ในอดีตสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ จึงทำให้ต้นโพธิ์กลายเป็น...
-
อุโบสถหลังเก่าวัดแก้วรังษี อุโบสถหลังเก่าวัดแก้วรังษี สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว) สิ้นทุนทรัพย์ใ...
-
ผุฏฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปฏิ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ดวงจ...